Dien Bien Phu
การรบที่เดียนเบียนฟู ตอนที่ 1
สถานการณ์ทั่วไป
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามในภาคพื้นแปซิฟิค ยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น
ส่งผลให้คาบสมุทรอินโดจีนกลับมาเป็น อณานิคมของฝรั่งเศสอีกครั้ง
หลังจากเคยตกเป็นอณานิคมของฝรั่งเศสมาแล้วในศตวรรษที่ 19ในกรณีของเวียดนามนั้นตกเป็นอณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต่
พ.ศ.2416 (ค.ศ.1873) โดยถูกแบ่งออกเป็น
แคว้น คือ แคว้นตังเกี๋ย
อยู่ทางตอนเหนือ แคว้นอันนัม
อยู่ทางตอนกลาง และแคว้นโคชินไชนา
อยู่ทางตอนใต้ ฝรั่งเศสได้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียบประเพณีให้เป็นแบบฝรั่งเศสการที่ตกอยู่ภายใต้อณานิคมของฝรั่งเศสทำให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มต่อสู้เพื่ออิสระภาพ
ที่มีชื่อ เวียดมินห์ (Viet Minh) ภายใต้การนำของ Nguyen Ai Quoc ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
Ho Chi Minh หรือที่เรารู้จักกันในามของ โฮจิมินห์ความจริงแล้ว
โฮจิมินห์ เองก็พยายามต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 (ค.ศ.1919) โฮจิมินห์ได้เดินทางไปฝรั่งเศสเข้าร่วมประชุม
The Versaills Conference เพื่อเรียกร้องเอกราชให้กับเวียดนาม
แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้เขาไปรัสเซีย
และได้และได้รับการถ่ายถอดแนวความคิดของลัทธิมาคซ์ (Marxism) และการปฏิวัติเมื่อโฮจิมินห์กลับไปยังเวียดนามก็เริ่มการเคลื่อนไหวในการขับไล่ฝรั่งเศสขึ้นในช่วง
พ.ศ.2463 - 73 (ค.ศ.1920 - 30) ต่อมาในพ.ศ.2483
(ค.ศ.1940) ญี่ปุ่นเริ่มเข้ามามีอิทธิผลในคาบสมุทรอินโดจีน
เนื่องจากฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำให้กับเยอรมัน ในสงครามภาคพื้นยุโรป (สงครามโลกครั้งที่ 2)ขบวนการเวียดมินห์
เลยขอรับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในการเคลื่อนไหวขับไล่ญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนทำให้สงครามภาคพื้นแปซิฟิค
(สงครามโลกครั้งที่ 2) ยุติลง ทางฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีบทบาทในการปกครองเวียดนามเหมือนเดิมขบวนการเวียดมินห์ได้ร้องขอให้สหรัฐฯ
สนับสนุนตนต่อ และเจรจาเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสให้ แต่สหรัฐฯ
มีความเกรงใจฝรั่งเศสจึงปฏิเสธไป แต่ก็ช่วยเจรจาอย่างไม่จริงจังเท่าไหร่กับฝรั่งเศส
เพียงแต่ปราม ๆ เรื่องการส่งกำลังเข้าไปในเวียดนาม ต่อมาในปี พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) เกิดสงครามเกาหลีขึ้น โดยฝ่ายเกาหลีเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของจีนทำการบุกขามเส้นขนานที่
38 ลงมายังเกาหลีใต้ ทำให้เกิดการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นระหว่างประเทศคอมมิวนิสต์
และประเทศประชาธิปไตย ส่งผลให้สหรัฐฯ เปิดทางให้ฝรั่งเศสเคลื่อนย้ายกำลังเข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน
เพราะทางขบวนการเวียดมินห์ นั้นถูกมองว่าเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ เนื่องจากหันไปขอรับการสนับสนุนทั้ง
อาวุธ และยุทธปัจจัยต่าง ๆ จากทั้งรัสเซียและจีน แทนสหรัฐฯ
ในช่วงต้นที่ฝรั่งเศสยาตราทัพเข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน
ภายใต้การนำของ พล.อ. Jean de Lettre de Tassigny กองกำลังฝรั่งเศส
(Corps Expéditionnaire) ได้ทำการปราบปรามขบวนการเวียดมินห์ภายใต้การนำของ
โฮจิมินห์ และ พล.อ.โว เหงียน เกี๊ยบ (Vo Nguyen Giap) โดยทำการวางกำลังลึกเข้าไปพื้นที่
ที่ขบวนการเวียดมินห์ยึดครอง ด้วยหน่วยส่งทางอากาศ (ทหารพลร่ม) จากนั้นสถาปนาเป็นที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง
แล้วทำการตัดเส้นทางการส่งกำลังบำรุงของเวียดมินห์ ด้วยอาวุธหนัก หรือที่เรียกว่า ยุทธศาตร์
he'rissons (hedgehogs) ทำให้ทางฝ่ายขบวนการเวียดมินห์สูญเสียอย่างหนักมาตลอด
จนกระทั่ง พล.อ. Lettre de เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ในเดือนมกราคม พ.ศ.2495 (ค.ศ.1952) การบังคับบัญชากองกำลังของฝรั่งเศสจึงถูกส่งมอบต่อให้กับ
พล.อ. Raoul Salan ซึ่งได้เปลี่ยนแผนการรบไปเป็นการใช้กำลังทหารขนาดใหญ่เข้าโจมตีที่มั่นของขบวนการเวียดมินห์
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก พล.อ. เกี๊ยบ ได้หลอกล่อให้กองทหารฝรั่งเศส
ตีเจาะลึกเข้ามา จากนั้นทำการปิดล้อม แล้วทำการดักซุ่มโจมตีขณะที่กองกำลังฝรั่งเศสถอนตัว
พล.อ.Salan รับหน้าที่ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2496
(ค.ศ.1953) ก็ถูกเปลี่ยนตำแหน่งโดย พล.อ.Henri
Navarre ผู้ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ พล.อ. Lettre de แต่ พล.อ. Navarre นั้นค่อนข้างจะถูกกดดันจาก
ประชาชน และรัฐบาลฝรั่งเศส ว่าจะต้องได้รับชัยชนะต่อขบวนการเวียดมินห์โดยเร็วที่สุด
พล.อ. Navarre และฝ่ายเสนาธิการจึงได้วางแผน ที่ชื่อ Navarre Plan โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่
1 -- ตั้งแต่
เขารับตำแหน่งจนถึงกลางปี พ.ศ.2497 (ค.ศ. 1954) ทำการสถาปนาความมั่นคงเวียดนามบริเวณใต้เส้นขนานที่ 18 ลงไป เนื่องจากเขตยึดครองหลัก ๆ ของขบวนการเวียดมินห์ส่วนใหญ่
จะอยู่เหนือเส้นขนาดที่ 18 ส่วนทางเหนือเส้นขนานที่ 18
กองกำลังทหารฝรั่งเศสดำเนินการตั้งรับเป็นหลัก และทำการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังขนาดใหญ่
ซึ่งจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า mentalite' de'fensive (defensive mentality)
ขั้นที่
2 -- จะเริ่มในปลายปี
พ.ศ.2497 (ค.ศ. 1954) ไปจนถึงปี พ.ศ.2499
(ค.ศ. 1956) กองกำลังฝรั่งเศสจะทำการใช้กำลังขนาดใหญ่เข้าทำการกวาดล้างขบวนการเวียดมินห์ทางตอนเหนือ
ในฐานที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง ขั้นตอนนี้จะเรียกว่า la bataille ge'ne'rale
อย่างไรก็ตามแผนของ
พล.อ.Navarre
นั้นไม่ได้ต้องการทำลายล้างขบวนการเวียดมินห์ให้สิ้นทราก เพียงแต่จะไปสอดคล้องกับยุทธศาตร์ของรัฐบาลฝรั่งเศส
ที่จะปราถนาจะเจรจา กับขบวนการเวียดมินห์ เพื่อจะหาทางออกในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันในคาบสมุทรอินโดจีน Navarre Plan นั้นจะเป็นเพียงมาตรการทางทหารที่จะแสดงให้เห็นว่าฝ่ายขบวนการเวียดมินห์นั้นไม่มีทางที่จะชนะ
กองกำลังฝรั่งเศสด้วยการปฏิบัติทางทหาร และทางรัฐบาลฝรั่งเศสก็มองเช่นเดียวกันว่า ฝรั่งเศสเองก็ไม่มีวันที่จะได้รับชัยชนะอย่างถาวรในภูมิภาคนี้ต่อมาในเดือนกรกฏาคม
พ.ศ.2496
(ค.ศ.1953) ทางรัฐบาลฝรั่งเศสได้ตกลง ที่จะให้ความสำคัญกับการป้องกันลาว
จากการรุกรานของขบวนการเวียดมินห์ เนื่องจากลาวมีความปราถนาที่จะอยู่ภายใต้อณานิคมฝรั่งเศสด้วยการนี้เอง พล.อ.Naverre ได้ตอบสนองนโบายโดย ทำการเปิดยุทธการ Castor (Operation Castor) เพื่อทำการป้องกันลาว
ด้วยการส่งทหารพลร่มจำนวน 6
กองพันกระโดดลงที่หมู่บ้าน Moung Thanh ในเมือง Dien
Bien Phu จังหวัด Lai Chau ในวันที่ 20
พฤษจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953)
การรบที่เดียนเบียนฟู ตอนที่ 2
ยุทธการ Castor
เดียนเบียนฟู เป็นพื้นสำคัญที่ทำการเชื่อมโยงการคมนาคม
จากลาวไปยังไทย พม่า และจีน ซึ่งก็เปรียบเสมือนเส้นทางการส่งกำลังบำรุงหลักของเวียดมินห์
อย่างไรก็ตามที่เดียนเบียนฟูมีกำลังของเวียดมินห์ทำการยึดครองในบางพื้นที่ ตั้งแต่ตุลาคม
พ.ศ.2495 (ค.ศ.1952)
โดย กองทัพประชาชน กองพันที่ 910 ของ กรมที่ 148
กองพลที่ 316
การส่งกำลังลงยังเดียนเบียนฟู
ตามยุทธการ Castor กระทำโดยการส่งทางอากาศ (กระโดดร่มลง) ใช้ระยะเวลา 3
วัน สำหรับการส่งกำลังพลเริ่มแรกลง ณ เดียนเบียนฟู มีกำลังพลทั้งสิ้นรวม
9,000 นาย เพื่อทำการสร้างที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง แบ่งออกเป็น
8 ส่วนย่อย ๆ และ 2 สนามบิน
นอกจากนี้ทางกองกำลังฝรั่งเศส ยังสถาปนาความมั่นคงเพิ่มเติมด้วยการ
เพิ่มฐานปืนใหญ่ และกำลังให้มีความสามารถป้องกันตนเอง จากการโจมตีของขบวนการเวียดมินห์
ในแต่ละส่วน ทั้ง 8 ส่วน
การสถาปนาความมั่นคงได้ดำเนินการอย่างตลอดเวลา จนในที่สุดมีกำลังพลประการที่
เดียนเบียนฟู จำนวนถึง 13,000 นาย และมีทั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่
และนักการทูต ผลัดเปลี่ยนกันมาเยี่ยมเยียนอยู่เสมอ ทำให้หลายฝ่ายมีความเชื่อมั่นว่า
ฐานที่มั่นแห่งนี้คงจะไม่มีใครสามารถทำลายลงได้ยุทธการ
Castor
ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 0500 ของเช้าวันที่ 20
พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ด้วยเครื่องบิน C-47 (Dakota) ติดตั้งอุปกรณ์ครบครัน
บินขึ้นจากสนามบินฮานอย ทำหน้าที่เป็นกองบังคับการลอยฟ้า มีพล.จ. Jean
Gilles ผู้บัญชาการกองกำลังส่งทางอากาศ พล.จ. Jean Dechaux ผู้บัญชาการทางอากาศยุทธวิธี (The Northern Tactical Air Group ในอินโดจีน) และ พล.ท. Pierre Bodet ผู้ช่วยของพล.อ.
Navarre โดยสารไปด้วย ทั้ง 3 มีภารกิจในการลาดตระเวณบริเวณเหนือที่หมาย
เพื่อทำการตกลงใจส่งกำลังลง ยัง หมู่บ้าน Moung Thanh ตามยุทธการ
Castor ในวันนั้น หรือว่าจะเลื่อนการส่งกำลังลงเป็นวันอื่นสภาพอากาศในวันที่
20 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953)
มีหมอกเบาบางเหนือน่านฟ้าเดียนเบียนฟู
และจางหายไปในตอนเริ่มแสงทางทหาร (ภาษาทหารแปลง่าย ๆ ว่า
สว่างพอที่จะมองเห็น) เอื้ออำนายต่อการส่งกำลังทางอากาศลงยังบริเวณ เขตทิ้งลง (Drop
Zone:DZ) ในที่สุดกองบัญชาการลอยฟ้าได้ตัดสินใจ
ส่งกำลังส่งทางอากาศลงยัง DZ เมื่อเวลา 0720 ซึ่งเป็นการส่งกำลังทางอากาศที่มีกำลังพลมากที่สุดในอินโดจีนตั้งแต่เคยปรากฏมาเวลา 0845 ทหารพลร่มฝรั่งเศสจำนวน 2 กองพัน และ 1 กองร้อยทหารช่างสนาม หย่อนกำลัง
(ร้อย.ช.สนาม (-)) คือ กองพันที่ 6 Colonial
Parachutists (Colonial parachutists 6th battalion: 6th
BPC) มี พ.ต.Marcel Bigeard เป็นผู้บังคับกองพัน
กองพันที่ 2 จาก กรมทหารพลร่มเบาที่ 1 (2nd
battalion of the lst Regiment of Light Riflemen parachutists: พร.เบา 1 พัน.2) มี พ.ต.Jean
Brechignac เป็นผู้บังคับกองพัน รวมพลพร้อมยัง สนามบินที่ฮานอย บน Dakota
จำนวน 65 เครื่อง หลังจากนั้นประมาณ 2 ชม.กำลังพลชุดแรกก็ถูกปล่อยลงยังเดียนเบียนฟู 6th BPC ถูกปล่อยลงยัง DZ ชื่อ Natacha ทางบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเดียนเบียนฟู ส่วน พร.เบา 1 พัน.2 ถูกส่งลงที่ DZ ชื่อ Simone
บริเวณทางใต้ของ เดียนเบียนฟู พร้อมกับกองร้อยช่างสนาม (หย่อนกำลัง)
ในการส่งลง DZ ชุดแรก มีบางส่วนของ 6th
BPC และ ร้อย.ช.สนาม (-) ตกลงห่างจาก DZ ไปลงใกล้กับหน่วยทหารของขบวนการเวียดมินห์
ทำให้เกิดการปะทะกันขึ้น ในการนี้ ทำให้นายแพทย์สนาม (แพทย์ผ่าตัด) ร.อ. Jean
Raymond เสียชีวิต ซึ่งเป็นการกำลังพลที่เสียชีวิตคนแรก ของยุทธการ Costor
ในตอนเย็นของวันแรก
ทหารพลร่มฝรั่งเศส เสียกำลังพลไปจำนวน 15 นาย บาดเจ็บ
34 นายจากการสู้รบกับเวียดมินห์ และ เสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 13 นายจากการกระโดดร่ม ส่วนทางฝ่ายเวียดมินห์
เสียชีวิต 115 นาย และ บาดเจ็บ 4 นาย โดบถูกจับตัวเป็นเชลยศึก
ยึดอาวุธได้ 40 ชิ้น
หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง
กำลังพลชุดที่ 2 ก็ถูกส่งลงยังเดียนเบียนฟู ด้วยเครื่อง
Dakota จำนวน 41 เครื่อง
ซึ่งประกอบกำลังไปด้วย
การกระโดดร่มในระลอกนี้
มีนายทหารอาวุโสจำนวน 2
นายร่วมกระโดดด้วย คือ พล.จ.Gilles ผบ.กองกำลังส่งทางอากาศ
ผู้จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยฝรั่งเศส (Saint-Cyr) ได้กระโดดลงพร้อมกับกำลังพล
ถึงแม้เขาจะมีอายุถึง 49 ปี และเป็นโรคหัวใจ แต่ก็ได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นำเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ พ.ท.Pierre Charles Langlais ผู้มีอายุ 44 ปี แต่เขาก็บาดเจ็บเล็กน้อยที่บริเวณข้อเท้าจากการลงพื้นตอนเช้าวันที่ 22
พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) กองพันพลร่มที่ 5 ของเวียดนาม ได้ถูกส่งล่งที่ DZ
ชื่อ Bawouan เข้าไปสมทบกับกองกำลังฝรั่งเศส
ในตอนเย็นของวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ก็มีทหารทั้งของฝรั่งเศส และเวียดนาม เข้าประจำการในเดียนเบียนฟูจำนวน
4,195 นาย
การรบที่เดียนเบียนฟู
ตอนที่
3
ฝูง
C
47 Dakota เที่ยวบินแรกบินลงยังสนามบินที่เดียนเบียนฟู ในวันที่ 25 พฤศจิกายน
พ.ศ.2496
(ค.ศ.1953)
สถาปนาความมั่นคงค่ายที่เดียนเบียนฟู
สถาปนาความมั่นคงค่ายที่เดียนเบียนฟู
หลังจากกำลังส่งทางอากาศของฝรั่งเศสได้ถูกส่งลงยังบริเวณเดียนเบียนฟู
ตามยุทธการ Castor แล้ว ทางกองกำลังฝรั่งเศสดังกล่าวได้ทำการสถาปนาความมั่นคง
โดยให้ความสำคัญเร่งด่วนกับสนามบิน เพราะว่าการส่งกำลังเข้าสู่เดียนเบียนฟู จะเป็นได้ทางเดียวคือทางอากาศ
สิ่งอุปกรณ์ และกำลังพล ต่างก็ต้องนำมาจาก ฮานอยวันที่ 22 พฤศจิกายน
พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ได้มีเครื่องบินเที่ยวบินแรกได้ทดลองบินลงยังสนามบิน
ที่เดียนเบียนฟู เป็นเครื่องบินตรวจการณ์ขนาดเล็ก Morane 500 เพื่อทดสอบการใช้สนามบิน ก่อนที่ พล.จ. René Cogny ผู้บัญชาการแค้วนตังเกี๋ย
(Tokin Forces Commander) จะมาตรวจเยี่ยมวันรุ่งขึ้นวันที่ 23
พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) สิ่งอุกรณ์ต่าง ๆ จำนวนถึง 240 ตัน ได้ถูกส่งลงยังบริเวณเดียนเบียนฟู
ด้วยเที่ยวบินถึง 248 เที่ยวบิน เพื่อทำการปรับปรุงสนามบินให้สามารถรองรับเครื่องบิน
C-47 Dakota และพล.จ.Cogny ได้บินมาตรวจเยี่ยมกำลังพล
ด้วยเครื่องบิน Morane 500วันที่ 25 พฤศจิกายน
พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) สนามบินมีความพร้อมสำหรับเครื่อง
Dakota ในเวลา 1145 เครื่องบิน Dakota
ฝูงแรกก็บินลงยังสนามบินเดียนเบียนฟู ซึ่งก็เร็วกว่าที่หลาย ๆ
ฝ่ายวางแผนเอาไว้ว่าจะเป็นราว ๆ ต้นเดือน ธันวาคม แต่การลงดังกล่าวทำให้สนามบินมีความเสียหาย
ซึ่งก็ต้องซ่อมแซม ทำให้เริ่มมีการขนแผ่นเหล็ก จำนวนถึง 22,800 แผ่น และ แผ่นรอง 15,450 แผ่น เพื่อปรับปรุงให้ทางขึ้นลงสามารถรองรับเครื่องบินได้ทุกประเภทนอกจากวัสดุสำหรับการซ่อมแซมสนามบินแล้ว
สิ่งอุปกรณ์อื่น ก็ได้ถูกส่งลงยังเดียนเบียนฟู เช่น ลวดหนาม จำนวนถึง 45 ตัน เพื่อใช้เป็นแนวป้องกัน และเป็นสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่ของฝ่ายเวียดมินห์
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) เดียนเบียนฟู มีความพร้อมที่จะรองรับการเคลื่อนย้ายทางอากาศจากที่อื่น
ๆ โดยเฉพาะจาก ฮานอย ในการนี้ กองกำลังจากประเทศอณานิคม (อัลจีเลีย โมรอคโค
แอฟริกัน) Foreign Legion (นักรบรับจ้าง) และ ทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่
ทหารช่าง ทหารสื่อสาร และเจ้าหน้าที่การบินภาคพื้น ของฝรั่งเศส ต่างทะยอยเคลื่อนย้ายเข้าสู่
เดียนเบียนฟู วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ค่ายของกองกำลังฝรั่งเศสได้ถูกตั้งชื่อว่า
GONO ภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.จ.Gilles อย่างไรก็ตามหน้าที่จริง
ๆ ของ พล.จ.Gilles นั้นเป็นผู้บัญชาการกองกำลังส่งทางอากาศ ของกำลังส่งทางอากาศทั้งหมดในภาคพื้นอินโดจีน
หลังจากกำลังในส่วนต่าง ๆ ได้ถูกส่งลงยังเดียนเบียนฟู ตามขั้นตอนที่ 1 ของยุทธการ Castor แล้วเขาต้องกลับไปทำหน้าที่อย่างเดิม
คือเป็นผู้บัญชาการกองกำลังส่งทางอากาศของฝรั่งเศสในภาคพื้นอินโดจีน โดยกลับไปนั่งทำงานที่
ฮานอย นอกจากนี้ พล.จ.Gilles นั้นก็มีสุขภาพที่ไม่ค่อยดีนักทางหน่วยเหนือจึงวางแผนสับเปลี่ยนผู้บัญชาการค่ายที่เดียนเบียนฟูจาก
พล.จ.Gilles
ไปเป็น พ.อ.Christian de la Croix de Castries (เหล่าทหารม้า) ผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกจาก พล.อ.Navarre เนื่องจากมีความประทับใจความสามารถของ พ.อ.Christian จากการทัพที่เยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
การสับเปลี่ยนการบังคับบัญชาเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม
พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) ส่วน พล.จ.Gilles
ได้กลับไปยังฮานอยและกลับสู่ฝรั่งเศส ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) เนื่องจากปัญหาสุขภาพ
หลังจาก พ.อ.Christian
มารับตำแหน่งก็ทำการพัฒนาค่ายให้มีความมั่นคงแข็งแรง ต่อจาก พล.จ.Gilles
โดยแบ่งค่ายออกเป็น 9 ส่วนหลัก ๆ
มีชื่อดังต่อไปนี้ Anne-Marie, Béatrice, Claudine, Dominique, Eliane,
Françoise, Gabrielle, Huguette, Isabelle (เป็นชื่อของผู้หญิงทั้งหมด
มีบางคนกล่าวว่าเป็นชื่อของผู้หญิงที่ พ.อ.Christian รัก)
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) รถถัง
M-24 (Schaffee) แยกชิ้นส่วนจำนวน 6 คัน
ได้ถูกยกโดยอากาศยานปีกหมุน (ฮ.) มาลงและประกอบที่เดียนเบียนฟู รถถังอีกจำนวน 4
คันได้ถูกยกตามมาในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2497
(ค.ศ.1954) ทำให้มีรถถังประจำการที่เดียนเบียนฟู
10 คัน แบ่งออกเป็น 3 หมู่รถถัง หมู่ละ
3 คัน และ รถบังคับการ 1 คัน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) นั้นแทบจะกว่าได้ว่า
ค่ายของกองกำลังฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟูมีความมั่นคงแข็งแรงเป็นอยากมาก
และต่างก็เชื่อว่ายากที่ฝ่ายเวียดมินห์จะสามารถทำการเข้าตีให้แตกได้
รถถัง
M-24
(Schaffee) ที่เดียนเบียนฟู
สถานการณ์ก่อนการเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์
สถานการณ์ต่อมาในห้วงมกราคมถึงต้นมีนาคม พ.ศ.2497
(ค.ศ.1954) กองกำลังฝรั่งเศสได้จัดกำลังลาดตระเวณรอบ
ๆ ค่ายของตนที่เดียนเบียนฟู ก็มีการปะทะกันอยู่ตลอดเวลากับกองกำลังเวียดมินห์ ทาง
พล.อ.Navarre และ พล.จ.Cogny ได้ตกลงใจเพิ่มเติมหน่วยปืนใหญ่สนามตามพื้นที่ล่อแหลมต่าง
ๆ นอกจากนี้ยังตกลงใจเพิ่มเติมกำลังพล เข้าสู่เดียนเบียนฟู
เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการตั้งรับ ให้กับกองกำลังของตนการปะทะระหว่างกองกำลังฝรั่งเศสและเวียดมินห์
ในห้วง 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) จนถึง 12 มีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954)
ก่อนที่ฝ่ายเวียดมินห์จะทำการเข้าตี
ทางฝรั่งเศสเองก็มีอัตราสูญเสียที่สูงพอควร ด้วยยอด ตาย 151
นาย บาดเจ็บ 798 นาย และ สูญหาย 88 นาย
กำลังที่เพิ่มเติมเข้าสู่เดียนเบียนฟูของฝรั่งเศส
นั้นทำให้กำลังพลทั้งหมดสูงถึงประมาณ 13,000 นาย
ในห้วงต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954) นอกจากนี้ยังมี รถถัง ปืนใหญ่สนาม คลังอาวุธกระสุน
กระจายอยู่ตามแนวต้านทานหลัก 8 แห่งที่ได้กำหนดขึ้น (Anne-Marie,
Béatrice, Claudine, Dominique, Eliane, Gabrielle, Huguette, Isabelle) โดยที่
- Gabrielle เป็นแนวตั้งรับทางด้านเหนือ
- Béatrice เป็นแนวตั้งรับทางตะวันออกเฉียงเหนือ
- Anne-Marie เป็นแนวตั้งรับทางตะวันตกเฉียงเหนือ
- Huguette ระวังป้องกันสนามบินทางด้านเหนือ
- Claudine ระวังป้องกันสนามบินทางด้านใต้ และเป็นแนวตั้งรับทางทานตะวันตกเฉียงใต้
- Dominique และ Eliane เป็นแนวตั้งรับการเข้าตีจากแนวเขาทางด้านตะวันออก มีที่ตั้งบนเนินสูงข่ม
- Isabelle ระวังป้องกันสนามบินทางด้านใต้ อยู่ห่างทางใต้ลงมาประมาณ 6 กม. จัดกำลัง 1,809 นาย มีรถถัง และปืนใหญ่ ประจำในฐานที่มั่น และยังสามารถขอรับการสนับสนุนจากฐานที่มั่นทางตอนเหนือ ได้เมื่อร้องขอด้วยความเชื่อมั่นของ พล.อ.Navarre ว่าค่ายที่เดียนเบียนฟูนั้นมีความแข็งแรงเกินกว่า ที่ฝ่ายเวียดมินห์จะสามารถทำการเข้าตีให้แตกได้ และพล.อ.Navarre นั้นก็ไม่คิดว่าทางฝ่ายเวียดมินห์จะทำการเคลื่อนย้ายปืนใหญ่สนามของตน ไปวางยังบริเวณบนเนินเขาต่าง ๆ โดยฐานที่มั่นแต่ละแห่งของตน อยู่ในระยะยิงหวังผลของปืนใหญ่สนามเวียดมินห์ที่วางแต่ละจุด นอกจากนี้การวางปืนใหญ่สนาม ของฝ่ายเวียดมินห์ยังได้รับการกำบังซ่อนพรางเป็นอย่างดีจากป่ารกทึบ ที่อยู่บริเวณ รอบ ๆ เดียนเบียนฟู
ส่วนบริเวณรอบ ๆ
ของเดียนเบียนฟูนั้นก็มีกำลังเวียดมินห์รายล้อม 33
กองพันทหาราบ มีอาวุธหนัก คือปืนใหญ่ 105 มม. 20 กระบอก ปืนใหญ่ 75 มม. 20
กระบอก และ เครื่องยิงลูกระเบิด (ค.) กับปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง (ปรส.) จำนวนมาก
ปืนกลขนาด 12.7 มม. ใช้สำหรับป้องกันภัยทางอากาศ 100 กระบอก และก่อนที่ฝ่ายเวียดมินห์จะทำการเข้าตีที่เดียนเบียนฟู
ได้เพิ่มเติมกำลัง 4 กองพันติดอาวุธปืนกลขนาด 37 มม.ของรัสเซีย สำหรับป้องกันภัยทางอากาศ และยังใช้โจมตีกองกำลังภาคพื้นได้อีกด้วย
จำนวน 16 กระบอก และอะไหล่อีก 64
ชุดจากจีน
กองกำลังเวียดมินห์มีขีดความสามารถในการใช้กองหนุนสำหรับผลัดเปลี่ยนกำลังได้ถึง 100,000 นาย
กำลังผลัดเปลี่ยนเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วโดยรถยนต์ลงมาจากจีน
ก่อนที่ทางฝ่ายเวียดมินห์จะทำการเข้าตีกองกำลังฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟู
ได้มีบุคคลสำคัญต่าง ๆ ของฝรั่งเศส เช่น รมว.กห. ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. ผบ.ทอ.
และยังมี ผบ.ทหารสูงสุดของเวียดนาม และ ผู้ช่วยทางด้านกิจการทหารจากสหรัฐ ฯ
ผลัดเปลี่ยนมาตรวจเยี่ยมที่เดียนเบียนฟู และต่างก็มีความรู้สึกที่เหมือน ๆ กันว่า
ค่ายแห่งนี้มีความมั่นคงแข็งแรงยากที่จะถูกทำลายลงไปได้
การรบที่เดียนเบียนฟู
ตอนที่ 5
การเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์ที่ที่หมาย
Béatrice
สิ่งบอกเหตุที่ระบุว่าทางฝ่ายเวียดมินห์จะทำการเข้าตี เริ่มขึ้นจากการที่ทางฝ่ายเวียดมินห์ทยอยอพยพชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณรอบ
ๆ เดียนเบียนฟู ออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า โฮจิมินห์ และ พล.อ.เกี๊ยบ
ได้มาทำการสำรวจภูมิประเทศ ที่ Muong Phan ซึ่งอยู่ระหว่างเดียนเบียนฟู
และ Tuan Ciao ก่อนหน้าวันที่ 13
มีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954) ซึ่งเป็นวันที่ฝ่ายเวียดมินห์ทำการเข้าตี
เพียงไม่กี่วัน
เวลา 1700
ของวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954)
ปืนใหญ่ของฝ่ายเวียดมินห์ เริ่มทำการยิงเตรียม (ยิงเตรียมหมายถึง
การยิงของอาวุธยิงสนับสนุนอย่างปืนใหญ่ หรือ ปืนเรือ ไปยังบริเวณที่หมาย
ก่อนที่ฝ่ายทำการเข้าตี จะทำการเข้าตี เมื่อถึงเวลาที่กำหนดในการเข้าตี
การยิงของปืนใหญ่ หรือ ปืนเรือจะเลื่อนฉากการยิงออกไป
หน่วยเข้าตีหลักก็จะเริ่มทำการเข้าตี) บริเวณแนวตั้งรับ Béatrice ผลจากการยิงเตรียมของฝ่ายเวียดมินห์ นั้นได้ส่งผลให้แนวตั้งรับ Béatrice
เป็นอัมพาทไปในทันทีเนื่องจาก
กระสุนปืนใหญ่ได้ตกลงยังที่บังคับการในการยิงชุดแรก จำนวน 2
นัด ส่งผลให้ พ.ท.Jules Gaucher ผู้บังคับบัญชาของแนวตั้งรับ
Béatrice และนายทหารฝ่ายอำนวยการอีก
3 นาย ได้เสียชีวิตในทันที
ทางฝ่ายฝรั่งเศสก็ได้ทำการยิงปืนใหญ่ โต้ตอบ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรเนื่องจาก
ปืนใหญ่ของฝ่ายเวียดมินห์ ได้ทำการกำบังซ่อนพรางเป็นอย่างดี
เวลา 1815
กองทัพประชาชน ของเวียดมินห์ กรมที่ 141 และ 219 ของกองพลที่ 312 ได้ทำการเข้าตีที่ Béatrice
ในการเข้าตีครั้งนี้มีวีรกรรมของฝ่ายเวียดมินห์ คือ Phan
Dinh Giot ซึ่งเป็นผู้บังคับหมู่เข้าตี บริเวณสนามเพลาะ
ที่เป็นฐานปืนกลของฝรั่งเศสทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของ Béatrice ฐานปืนกลแห่งนี้ได้ทำการยิงกดดัน กำลังเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์ Phan
Dinh Giot จึงได้ตัดสินใจกระโดดนำตัวเองบังกระสุนปืนกลเพื่อให้กำลังที่ตามมา
ทำการเคลื่อนที่ต่อไปได้ Phan Dinh Giot ได้ถูกกระสุนปืนกลยิงเสียชีวิตทันที
และร่างของเขาได้ตกลงบังวิถีกระสุน
ซึ่งก็เป็นระยะเวลาพอที่ให้กำลังที่เคลื่อนที่ตามมาเข้าทำการยึดฐานปืนกลได้
วีรกรรมของ Phan Dinh Giot ถือเป็นวีรกรรมครั้งแรก
ในการเข้ายึดเดียนเบียนฟูของฝ่ายเวียดมินห์
ทางฝ่ายฝรั่งเศสได้พยายามต้านทานการเข้าตีของฝ่ายเวียดมินห์อย่างเหนี่ยวแน่น
ทั้งสองฝ่ายต่างก็สูญเสียจำนวนมาก เมื่อเวลา 2300
ของวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954)
ทางเวียดมินห์ได้ทำการรวมกำลังอีกครั้งเพื่อทำการเข้าตีอีกระลอก
และเมื่อประมาณ 0015 ของวันที่ 14
มีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954) แนวตั้งรับ
Béatrice ไม่สามารถต้านทานการเข้าตีได้
ท้ายที่สุดก็ถูกยึดครองโดย ฝ่ายเวียดมินห์
พร้อมกับข้อความสุดท้ายจากพนักงานวิทยุที่ Béatrice ร้องขอกระสุนปืนใหญ่แตกเหนือศรีษะตนเอง
ในเช้าวันถัดมา 14 มีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954) สภาพอากาศบริเวณเดียนเบียนฟูปกคลุมไปด้วยฝน
และเมฆหนา ทางฝ่ายฝรั่งเศสได้พยายามรวบรวมกำลังทำการตีโต้ตอบ เพื่อยึดบริเวณ Béatrice
คืนจากฝ่ายเวียดมินห์ เวลา 0730 กำลังตีโต้ตอบ
พร้อมด้วยรถถังได้เคลื่อนที่เข้าสู่ Béatrice โดยอาศัยถนนเส้นที่
41 (ตามรูปข้างบน)
ทางฝ่ายเวียดมินห์ได้ประมาณการณ์อยู่แล้วว่าทางฝรั่งเศสต้องทำการตีโต้ตอบ
จึงได้วางกำลังคอยไว้ เมื่อกำลังตีโต้ตอบเคลื่อนที่เข้ามาใกล้
ก็ถูกระดมยิงอย่างหนัก จนกำลังตีโต้ตอบของฝรั่งเศสต้องล่าถอยไป
ขณะที่ทางฝ่ายฝรั่งเศสพยายามรวมกำลังอีกครั้งเพื่อทำการตีโต้ตอบครั้งที่
2 ได้มี ร.ท.Turpin ผู้ซึ่งบาดเจ็บสาหัด
และได้รับการปล่อยตัวมาจาก Béatrice พร้อมกับนำสารของผู้บัญชาการกองพล
312 กองทัพประชาชนของเวียดมินห์ที่ยึดครอง Béatrice ว่าจะอนุญาตให้ทางฝ่ายฝรั่งเศส มาเคลื่อนย้ายทหารที่บาดเจ็บและศพออกจากบริเวณ
Béatrice ได้ในห้วงเวลา 0800 - 1200
ของวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2497 (ค.ศ.1954)
เวลาประมาณ 0900 ขบวนเสนารักษ์และการศพ ประกอบด้วยยานยนต์ 2
ตันครึ่งพร้อมกำลังพลไม่ติดอาวุธจำนวนหนึ่งของฝรั่งเศสได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่ Béatrice
เพื่อทำการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ และขนศพ เมื่อไปถึง นายแพทย์สนาม
ร.อ.Le Damany และอนุศาสนาจารย์ Trinquand ได้พบกับชุดที่มารอรับของฝ่ายเวียดมินห์ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำความเคารพกัน
ทางฝ่ายเวียดมินห์ ก็ได้อนุญาตให้ชุดเสนารักษ์ดังกล่าวเคลื่อนย้าย ผู้บาดเจ็บ 8 นาย (1นายเสียชีวิตพอดีเมื่อ อนุศาสนาจารย์ ์ Trinquand)
และ ศพของทหาร Foreign Legion จำนวน 300 ศพ ชุดเสนารักษ์และการศพดังกล่าวก็ได้เคลื่อนย้ายออกจาก Béatrice เมื่อประมาณ 1000
หลังจากการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
และศพออกมาจาก Béatrice พ.อ.Christian และฝ่ายอำนวยการของเขาต่างก็มีคำถามที่ว่า
คุ้มค่าเพียงใดที่จะรวมกำลังเพื่อทำการตีโต้ตอบ เพื่อยึด Béatrice คืนมา หรือจะสงวนกำลังไว้ สำหรับการเข้าตีระลอกต่อไปของเวียดมินห์
เพราะทุกคนต่างก็รู้ว่า Gabrielle นั้นคือที่หมายต่อไปของเวียดมินห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น